ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะเนียงน้ำ มะเกียน้ำ
มะเนียงน้ำ มะเกียน้ำ
Aesculus assamica Griff.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Sapindaceae (Hippocastanaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Aesculus assamica Griff.
 
  ชื่อไทย มะเนียงน้ำ มะเกียน้ำ
 
  ชื่อท้องถิ่น - ห่อบือ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), จอบู่ละ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - จอหว่อปือ (ลัวะ-เชียงใหม่) จอบือ (กะเหรี่ยง – กำแพงเพชร) ปวกน้ำ โปตานา(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ขล่ำปอง มะเกียน้ำ (เหนือ) มะเนียงน้ำ (ตาก, เชียงราย) หมากขล่ำปอง(เชียงใหม่) [8]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ มีความสูง 15 – 20 เมตร เปลือกต้นเรียบ
ใบ ประกอบเป็นแฉกรอบๆ เป็นใบย่อยปลายดี 6-7 ใบ ใบย่อยกลางมีขนาดโตกว่าใบย่อยข้างตามลำดับ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบรูปลิ่มขอบใบเรียบเส้นใบข้าง 18-24 คู่ ผิวใบย่อเป็นลอน
ดอก ออกเป็นช่อยาว 30-60 ซม. อยู่ที่ปลายกิ่งโผล่ขึ้นเหนือใบเห็นได้เด่นชัด ดอกย่อยแต่ละดอกมีขนาด 2.5-3.0 ซม สีขาว มีสีเหลืองปนชมพู่ประตรงกลาง กลีบดอก 4 กลีรบ ขนาดไม่เท่ากันและคอดที่ฐาน
ผล ขนาดประมาณ 2.7 ซม สีน้ำตาลภายในมี 3 เสี้ยว และมีเมล็ดใหญ่ 1-3 เม็ด [8]
 
  ใบ ใบ ประกอบเป็นแฉกรอบๆ เป็นใบย่อยปลายดี 6-7 ใบ ใบย่อยกลางมีขนาดโตกว่าใบย่อยข้างตามลำดับ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบรูปลิ่มขอบใบเรียบเส้นใบข้าง 18-24 คู่ ผิวใบย่อเป็นลอน
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อยาว 30-60 ซม. อยู่ที่ปลายกิ่งโผล่ขึ้นเหนือใบเห็นได้เด่นชัด ดอกย่อยแต่ละดอกมีขนาด 2.5-3.0 ซม สีขาว มีสีเหลืองปนชมพู่ประตรงกลาง กลีบดอก 4 กลีรบ ขนาดไม่เท่ากันและคอดที่ฐาน
 
  ผล ผล ขนาดประมาณ 2.7 ซม สีน้ำตาลภายในมี 3 เสี้ยว และมีเมล็ดใหญ่ 1-3 เม็ด [8]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ "- ยอดอ่อน นำไปลวกกินจิ้มน้ำพริก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ผล นำมาฝนบนก้อนหิน แล้วเอามาทาบริเวณหน้าอกหรือ เต้านม แก้อาการปวดเต้านมที่น้ำนมไม่ไหล หรือทาฝีจะทำ ให้ยุบลง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- เปลือกต้นหรือราก ทุบแล้วนำไปแช่ในน้ำ เพื่อเบื่อปลา(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- กะเหรี่ยงใช้น้ำจากผลใส่ผ้าอังน้ำร้อนทาหรือเต้านม หรือใช้ผลนวลเพื่อเร่งน้ำนมสำหับคนที่มีลูกและทำเป็นครีมทาแก้สิวฝ้า ตุ่มแข็งหรืออาการบวนต่างๆ ตามร่างกาย[8]"
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง